การต่อสู้ระหว่างมนุษย์กับเชื้อโรค |
วันก่อนได้อ่านหนังสือพิมพ์ฉบับหนึ่งได้มีบทความเกี่ยวกับสถานการณ์ เกี่ยวกับวงการเชื้อโรคในปัจจุบัน ซึ่งถือว่าเป็นภัยเงียบที่ค่อยๆคืบคลานมาใกล้ตัวเรามากขึ้นแต่หลายคนกลับไม่รู้ตัว
ยาปฏิชีวนะเป็นสารที่เอาไว้สำหรับกำจัดแบคทีเรีย โดยใช้วิธีการยับยั้งการเจริญเติบโต หรือตายไป แต่ตามธรรมชาติแล้วเชื้อโรคจะมีการขยายพันธุ์ได้อย่างรวดเร็ว ดังนั้นจึงมักจะมีบางตัวที่ผ่าเหล่าผ่ากอสามารถรอดตายมาได้ และไอ้ที่ตัวที่รอดตายมาได้เนี่ยก็จะไปขยายพันธุ์ต่อทำให้ยาชนิดเดิมที่เคยใช้ ไม่สามารถฆ่ามันได้อีกต่อไป
โดยยาปฏิชีวนะที่มีเชื้อโรคดื้อยามากๆจนแทบรักษาไม่หายเนี่ย ก็มีหลายตัว ซึ่งเราก็มักจะได้จากแพทย์ประจำเช่น เพนิซิลิน อีริโธมัยซิน เตตราไซยคลิน อะม๊อกซี่ซีลิน(ยาตัวนี้ถ้าป่วยไม่สบายเจ็บคอเนี่ย จะได้จากหมอเป็นประจำ) เป็นต้น
อย่างเชื้อโรคอันตรายเช่น Steptococcus pneumoniae ที่ก่อให้เกิดโรคปอดอักเสบและปอดบวม ปกติสามารถใช้ยาปฏิชีวนะพื้นๆเช่น เพนิซิลินและอิริโธมัยซินฆ่าได้อย่างสบายๆ แต่จากข้อมูล 10 ปีหลังมานี้พบเชื้อโรคดื้อยาเพิ่มขึ้น เพนิซิลินจากอัตราดื้อยา 47% เพื่มเป็น 61% และอิริโธมัยซินจาก 27% เป็น 54%
และนอกจากนี้ ยาปฏิชีวนะชนิดอื่นๆก็มี%ที่เชื้อโรคดื้อยามากขึ้น แต่ในทางกลับกัน แนวโน้มของการคิดค้นยาปฏิชีวนะชนิดใหม่กลับลดลง และมีตัวเลขยืนยันว่าพบผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลกว่า50% ที่เชื้อโรคดื้อยาจนเสียชีวิต ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นเชื้อโรคในกลุ่ม Acinetobacter
ซึ่งมักจะเป็นสาเหตุในการเสียชีวิตเนื่องจากมักฉวยโอกาสติดเชื้อผ่านทางเครื่องช่วยหายใจของผู้ป่วย ICU และที่สำคัญเชื้อโรคดังกล่าวในปัจจุบันก็มีอาการดื้อยาที่ดีที่สุดในการรักษาอาการติดเชื้อในโรงพยาบาลแล้ว
ที่ผ่านมามนุษย์มุ่งที่จะหายาที่ดีที่สุดเพื่อเอาชนะเชื้อโรคโดยลืมคิดไปว่า เชื้อโรคก็เป็นสิ่งมีชีวิตเช่นเดียวกับเรา ที่พร้อมจะต่อสู้ดิ้นรนและเอาชนะต่อยาที่เราคิดค้นขึ้น
และเหมือนในวันนี้ การต่อสู้ในเกมนี้เรากำลังจะแพ้ด้วย
ถึงเวลารึยังครับในการดูแลสุขภาพ เพื่อให้ภูมิคุ้มกันแข็งแรง แทนที่จะมัวรอไปโรงพยาบาลเพื่อให้หมอรักษาเพียงอย่างเดียว
ที่มาข้อมูลตัวเลขมาจากหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ ฉบับวันที่29 กันยายน 2553 หน้า 5 นะครับ
ว้าว เราเคยดูเรื่องในสารคดี
ตอบลบเรื่องนี้น่าสนใจมากเลย